วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ 
1.แรงแวนเดอร์วาลส์
-แรงลอนดอน ( london foece ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสารทั่วไป และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
-แรงดึงดูดระหว่างขั้ว ( dipole – dipole force ) เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแรกระทำระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุลที่มีขั้ว
2.พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond , H – bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง

วิธีการเขียนสูตรโครงสร้างของสารอินทรีย์
1.สูตรโมเลกุล
2.สูตรแบบจุด/สูตรแบบเส้น
3.สูตรแบบย่อ
4.สูตรแบบเส้นและมุม

ประเภทของสารประกอบคาร์บอน

1.ใช้ลักษณะปฏิกิริยาเป็นเกณฑ์
-Saturated Cpds  เป็นพันธะซิกม่า
-Unsaturated Cpds  เป็นพันธะพายอย่างน้อย 1 พันธะ
2.ใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์
-Aliphatic Cpds โซ่เปิด
  * Straight Chain
  * Branched Chain
-Ailcyclic Cpds โซ่ปิด
3.Aromatic Cpds
Alicyclic Cpds ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนพาย = 4n-2 
4.Heterocyclic Cpds
โซ่ปิดที่ไม่ได้ประกอบด้วยCทั้งหมด




วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทนำ
พันธะที่เกิดขึ้นกับ Carbon คือ Covalent Bond และ Carbon มีการจัดเรียง e- ดังนี้ 1s2 2s2 2p2 มี e- เดี่ยวเพียง 2 ตัว น่าจะสร้างได้เพียง 2 พันธะ แต่จริงๆแล้ว Carbon สร้างได้ 4 พันธะ อธิบายได้โดยทฤษฎีพันธะเวเลนต์ (Valence Bond Theory)
         Valence Bond Theory อธิบายการเกิดพันธะ ที่คาร์บอนเกิดการผสมของ e- ใน 2s และ 2p ก่อนจะสร้างพันธะกับธาตุอื่น เรียกการผสมนี้ว่า Hybridization

 Hybridization ของ Carbon มี 3 รูปแบบ
1. Hybridization แบบ sp3 เกิดจากการผสมของ e- ใน 2s :1 orbital และ 2px 2py 2pz : 3 orbital เกิดเป็น orbital ใหม่ 4 orbital ที่ผสมกันระหว่าง 2s และ 2p มีลักษณะโครงสร้างแบบ AX4 หรือทรงสี่หน้า (Tetrahedral) เรียกพันธะเดี่ยวที่ orbital ทั้งสี่สร้างว่า พันธะ sigma (σ bonds) และ e- ที่ใช้สร้าง σ bonds ว่า electron sigma (σ electron) เช่น Methane (CH4)




2. Hybridization แบบ sp2 เป็นการผสมของ e- ใน 2s: 1 orbital  และ 2p อีก 2 orbital เกิดเป็น orbital ผสม 3 orbital ทำมุม 120 องศา เป็น AX3 สามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal Planar) มี e- เหลือใน 2pz อีก 1 orbital  orbital ผสม 3 orbital สร้าง σ bonds (พันธะซิกมา) ส่วน e- ที่เหลือใน 2pz จะใช้สร้าง พันธะไพ (π bonds) เรียก e- ที่ใช้สร้าง π bonds ว่า π electron เช่น Ethylene or Ethene (C2H4)



3. Hybridization แบบ sp เป็นการผสมของ e- ใน 2s: 1 orbital  และ 2px 1 orbital เกิดเป็น orbital ผสม 2 orbital ทำมุม 180 องศา เป็น AX2 เส้นตรง (Linear) มี e- เหลือใน 2py และ 2pz อีก 2 orbital  orbital ผสม 2 orbital สร้าง σ bonds (พันธะซิกมา) ส่วน orbital ที่เหลือ 2 orbital สร้าง พันธะไพ (π bonds) เช่น Acetylene or Ethyne (C2H2)



เครดิต: http://www.thaiblogonline.com/Goodfriend.blog?PostID=21382

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การไทเทรต
เป็นกระบวนการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดหรือเบส โดยให้สารละลายกรดหรือเ บสทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายมาตรฐาน เบสหรือกรดซึ่งทราบความเข้มข้นที่แน่นอน และใช้อินดิเคเตอร์เป็นสารที่บอกจุดยุติ ด้วยการสังเ กตจากสีที่เปลี่ยน ขณะไทเทรต pH จะเปลี่ยนไป ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์เหมาะสม จะบอกจุดยุติใกล้เคียงกับจุดสมมูล จุดสมมูล (จุดสะเทิน = Equivalence point)
คือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน จุดสมมูลจะมี pH เป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่นำมาไทเทรตกัน และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดและเบส
จุดยุติ (End point)
คือ จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี ขณะไทเทรตกรด- เบสอยู่
กราฟของการไทเทรต1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่


2. การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่


3.  การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน



*ไม่มีการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนและเบสอ่อนเพราะมีจุดยุติที่สั้นมาก

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์(buffer solution)หมายถึง สารละลายของกรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อน
หรือ สารละลายของกรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อน

สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์
สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อย
การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
-เตรียมสารทางตรง
นำสารทั้งสองมาผสมกันเลย เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
-เตรียมสารทางอ้อม
เมื่อเราไม่มีสารที่เราต้องการจึงต้องนำสารมาทำปฏิกิริยากัน
เช่น ถ้าเรามี CH3COOH
CH3COOH + NaOH  ----------->  CH3COONa + H2O
เมื่อ CH3COOH มากเกินพอ ส่วน NaOH จะหมดไป
ทำให้เหลือ CH3COOH กับ CH3COONa ที่เป็นคู่บัฟเฟอร์กัน
       ถ้าเรามี CH3COONa
CH3COONa + HCl  -----------> CH3COOH + NaCl
เมื่อ CH3COONa มากเกินพอ ส่วน HCl จะหมดไป
ทำให้เหลือ CH3COOH กับ CH3COONa ที่เป็นคู่บัฟเฟอร์กัน
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7
2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน
การแตกตัวของกรดพอลิโปรติก หรือ การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน 
กรดพอลิโปรติก หมายถึง กรดที่มีโปรตอนมากกว่า 1 ตัว และสามารถแตกตัวให้ H+ ได้มากกว่า 1 ตัว ถ้าแตกตัวแล้วได้ H+ 2 ตัว จะเรียกว่า กรดไดโปรติก เช่น H2CO3, H2S, H2C2O4 เป็นต้น
ใช้วิธีการคำนวณแบบกรดอ่อน แต่ต้องคิดตามจำนวน H+
เช่น
H2CO3 มี H+จำนวน 2 ตัว ซึ่งจะแตกตัวออก 2 ครั้งโดยแต่ละครั้งจะมี H+ หลุดออกไป 1 ตัว
ทำให้ต้องคิดแบบการแตกตัวแบบกรดอ่อน 2 รอบ
ยกเว้น H2SO4 ที่ครั้งแรกจะเกิดการแตกตัวแบบกรดแก่
อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป
การทดสอบความเป็นกรด - เบสของสารละลายความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลายสามารถทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ 

อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลาย ได้แก่
1. กระดาษลิตมัส

มีสีแดงกับสีน้ำเงิน มีการเกิดขึ้น ดังนี้ 
- สารละลายกรด หรือสารละลายที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีแดง
- สารละลายเบสหรือสารละลายที่มีค่า pH สูงกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน 
- สารละลายเป็นกลางหรือสารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   ทั้งสีแดงและสีน้ำเงิน 
2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน
เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่มีสี เมื่อหยดสารละลายกรด สีของสารละลายจะคงเดิม
เมื่อหยดสารละลายเบส สีของสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง
แต่ถ้าเป็นเบสแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
3. สารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์

เป็นการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆชนิดที่มีการเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่างกันมาผสมกัน
ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงสามารถบอกค่าความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย
ดยบอกค่า pH ที่ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น 
เกลือ
ปฎิกิริยาไฮโดรลิซิส คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากที่เกลือละลายน้ำแล้ว
ซึ่งจะได้ไอออนของเกลือ โดยไอออนของเกลือจะไปทำการแยกสลายน้ำ
เกลือเกิดได้จากปฏิกิริยา 4 ประเภท
คือ
1.กรดแก่+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกลาง
2.กรดแก่+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกรด
3.กรดอ่อน+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือเบส
4.กรดอ่อน+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับค่าคงที่
-Ka = Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกลาง
-Ka > Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกรด
-Ka < Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือเบส

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดอ่อนเบสอ่อน
กรดอ่อนและเบสอ่อนเป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำไม่หมด
จึงเกิดสมดุลขึ้น
1.

2.


การแตกตัวของน้ำ,ค่าpH,ค่าpOH
การแตกตัวของน้ำ 
          น้ำเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่อ่อนมาก จึงทำให้แตกตัวได้น้อยมาก ดังนั้นการนำไฟฟ้าของน้ำจะน้อย จนไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการนำไฟฟ้าผ่านหลอดไฟ แต่ตรวจได้ด้วยเครื่องวัดกระแส (แอมมิเตอร์) ด้วยเหตุนี้จึงมีการอนุโลมให้น้ำบริสุทธิ์เป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์
          ตามทฤษฎีของเบรินสเตต - ลาวรี กล่าวว่า น้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งกรดและเบส ไอออนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำนั้นจะมีการถ่ายเทโปรตอนกันเอง เรียกว่า ออโตไอออนไนเซชัน

โมเลกุลของน้ำที่เสีย H+ จะเปลี่ยนเป็น OH- ซึ่งมีประจุลบ และโมเลกุลของน้ำที่ได้รับ H+ จะเปลี่ยนเป็น H3O+ ซึ่งมีประจุบวก
เนื่องจากระบบนี้อยู่ในภาวะสมดุล เราจึงสามารถเขียนสมการค่าคงที่สมดุลของ H2O ได้ ดังนี้


ค่า pH
เป็นตัวย่อที่มาจากภาษาละตินของคำว่า pondus hydrogenii (podus = pressure, hydrogenium = hydrogen แต่บางตำราคำว่า p หมายถึง power) ดังนั้นจึงเป็นการวัดการทำงานของโฮโดรเจนอิออนในสสารนั่นเอง ค่า pH ของสารละลายใด ๆ กำหนดได้จากลอกการิทึมลบ (ฐาน 10) ของความเข้มข้นไฮโดรเนียม ไอออน นั่นคือ
pH = -log[H+]   ----1
หากสารละลายมีค่า pH มากกว่า จะมีค่า H3O+ (หรือ H+) ในสารละลายมากกว่านั่น

                     pH+pOH = 14

ค่า pOH
เป็นการกำหนดความเป็นกรดด่างในรูปของ pOH scale ซึ่งกำหนดได้จากลอกการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์อิออน นั่นคือ
                                                             pOH = - log [OH-]   ----2

จาก 1+2 ;      pH+pOH = - log [OH-]+-log[H+]  
                      pH+pOH = - log [OH-][H+]
                      pH+pOH = - log Kw
                      pH+pOH = - log 1.0 x 10 14

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดแก่เบสแก่
กรดแก่และเบสแก่เป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำจนหมด
จึงใช้วิธีคิดแบบปริมาณสารสัมพันธ์ได้เลย
ซึ่งกรดแก่-เบสแก่มีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.นิยามของอาร์เรเนียส




กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน (proton donor) แก่สารอื่น
เช่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน (proton acceptor) จากสารอื่น
เช่น
NaOH (s) Na+ (aq) + OH- (aq)
KOH (s) K+ (aq) + OH- (aq)

HCl (g) H+ (aq) + Cl- (aq)
HClO4(l) H+ (aq) + ClO4- (aq)
2.นิยามของเบรินสเตด-ลาวรี


                                                              Thomas Martin Lowry       

 

                                                         Bronsted, Johannes Nicolaus  
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวจากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวแก่สารอื่น
สารที่เป็นคู่กรด-เบส คือ สารที่มี H+ต่างกัน1ตัวโดยที่คู่กรดจะมีH+มากกว่าคู่เบส1ตัว
เช่น

H2O เป็นสารที่ี่ให้โปรตอน (H+) ดังนั้น H2O จึงเป็นกรด
NH3เป็นสารที่ี่รับโปรตอน (H+) ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบส
H2O เป็นคู่กรดของเบสOH-
NH3 เป็นคู่เบสของกรด NH4+
CH3COOH เป็นสารที่ี่ให้โปรตอน (H+) ดังนั้น CH3COOH จึงเป็นกรด
 H2O เป็นสารที่ี่รับโปรตอน (H+) ดังนั้น H2Oจึงเป็นเบส
CH3COOH เป็นคู่กรดของเบสCH3COO-
H2O เป็นคู่เบสของกรด H3O+

3.นิยามของลิวอิส

กรด คือ สารที่สามารถรับอิเล็กตรอนคู่ แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเล็กตรอนคู่ แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์
เช่น
NH3 ให้อิเล็กตรอนคู่ 1 คู่กับ BF3 จึงเป็นเบส (Nucleophile)
BF3 รับอิเล็กตรอนคู่ 1 คู่จาก NH3 จึงเป็นกรด (Electroophile)
4.วิธีการตรวจสอบความเป็นกรด-เบส
-อินดิเคเตอร์ (indicator) คือ สารที่ใช้ตรวจสอบไฮโดรเนียมไอออน  และไฮดรอกไซด์ไอออน ได้ เนื่องจากสารละลายที่เป็นกรดจะมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่าสารละลายที่เป็นเบส
กรดเป็นสารประกอบไฮโดรเจน เมื่อละลายอยู่ในน้ำจะแตกตัวให้ไฮโดรเนียมไอออน
เบสเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะหรืออนุมูลที่มีค่าเทียบเท่าโลหะ ซึ่งเมื่อละลายอยู่ในน้ำจะแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน
-กระดาษลิตมัส
  •  สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินไปเป็นสีแดง
  •  สารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงไปเป็นสีน้ำเงิน
  •  สารละลายที่มีสมบัติเป็นกลาง จะไม่ทำปฏิกิริยากับกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง กระดาษลิตมัสจึงไม่เปลี่ยนสี 
-กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
 
รูปแสดงการเปลี่ยนสีของกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบสารละลายจะเปลี่ยนสีเมื่อใช้ทดสอบสารละลายที่มีค่า pH อยู่ในช่วงที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  •  ฟีนอล์ฟทาลีน เป็นสารละลายใสไม่มีสีซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8.3-10.0
  • เมทิลเรด เป็นสารละลายสีแดงซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.2-6.2
  • บรอมไทมอลบลู เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.0-7.6
  • ฟีนอลเรด เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.8-8.4
-พีเอชมิเตอร์ (pH meter)
5.ความแรงของกรดเบส
-ดูจากการแตกตัวของกรด
กรดที่มีการแตกตัวมาก มีความเป็นกรดมาก กรดและเบสที่แตกตัวได้ 100% จะเรียกว่ากรดแก่ และเบสแก่ ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้ดี แต่ถ้ากรดและเบสนั้นแตกตัวได้เพียงบางส่วนก็จะเรียกว่า กรดอ่อน หรือเบสอ่อน ตามลำดับ ซึ่งการนำไฟฟ้าจะไม่ดี
-ดูจากความสามารถในการให้และรับโปรตอน
กรดแก่ ได้แก่ กรดที่ให้โปรตอนได้มาก
กรดอ่อน ได้แก่ กรดที่ให้โปรตอนได้น้อย
เบสแก่ ได้แก่ เบสที่รับโปรตอนได้มาก
เบสอ่อน ได้แก่ เบสที่รับโปรตอนได้น้อย
โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคู่กรด- เบส ดังนี้
  • ถ้ากรดเป็นกรดแก่ คู่เบสจะเป็นเบสอ่อน เช่น
 
HCl (aq) + H2O H3O+ (aq) + Cl- (aq)
กรดแก่ เบสอ่อน
 
  • ถ้ากรดเป็นกรดอ่อน คู่เบสจะเป็นเบสแก่ เช่น
HS- (aq) + H2O H3O+ + S2- (aq)
กรดอ่อน     เบสแก่
 
  • ถ้าเบสเป็นเบสแก่ คู่กรดจะเป็น กรดอ่อน เช่น
H3O+ + S2-(aq) HS- (aq) + H2O
เบสแก่     กรดอ่อน
 
  • ถ้าเบสเป็นเบสอ่อน คู่กรดจะเป็น กรดแก่ เช่น
Cl-(aq) + H3O+ HCl + H2O
เบสอ่อน    กรดแก่
 
ตารางลำดับความแรงของกรดและเบสตัวอย่างตามทฤษฎีของเบรินสเตต- ลาวรี
 
- ดูจากการเรียงลำดับในตารางธาตุ
การพิจารณาความแรงของกรดและเบสดูจากการเรียงลำดับของธาตุที่อยู่ในกรดนั้้้น ตามตารางธาตุ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
  • กรดออกซี หมายถึง กรดที่ประกอบด้วย H, O และธาตุอื่นอีก เช่น HNO3 ,H3PO4,H3AsO4 ,HClO4 ถ้าจำนวนอะตอมออกซิเจนเท่ากัน ความแรงของกรดเรียงลำดับดังนี้
ดังนั้น H2SO4 > H2SeO4 , H3PO4 > H3AsO4
 
  • กรดที่ไม่มีออกซิเจน เช่น HCl, HBr, HF, และ HI ความแรงของกรดแรงลำดับดังนี้HI > HBr > HCl > HFH2S > H2O
กรดแก่-เบสแก่มี ดังนี้


 

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมดุลไอออนของสารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน
สารละลายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สารละลายอิเล็กโทรไลต์
2.สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์
สารละลายอิเล็กโทรไลต์แบ่งได้อีก 2 ประเภทคือ
-สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่
-สารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน
สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่คือ สารที่ละลายน้ำได้100%
ได้แก่ กรดแก่,เบสแก่,เกลือที่ละลายน้ำได้
สารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อนคือ สารที่ละลายน้ำได้น้อยกว่า100%
ได้แก่ กรดอ่อน,เบสอ่อน,เกลือที่ไม่ละลายน้ำ
กรด-เบสที่เราเข้าใจ
1.กรด+เบสจะได้เกลือ
2.กรด มีรสเปรี้ยว,มีฤทธิ์กัดกร่อน
3.เบส มีรสฝาด,มีคุณสมบัติลื่นมือ(เบสอ่อน),กัดมือ(เบสแก่)
4.กรดมีค่าpHต่ำกว่า7
5.เบสมีค่าpHสูงกว่า7
6.ตัวอย่างเบส ผงซักฟอก,น้ำขี้เถ้า












7.ตัวอย่างกรด น้ำมะนาว,น้ำส้มสายชู



วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ. 2554

หลักของเลอชาเตอลิเย
ปัจจัยที่รบกวนสภาวะวมดุลมี3อย่างคือ
1.การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์
-เมื่อเติมสารในผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของสารตัวนั้นและสารผลิตภัณฑ์จะมากขึ้นแต่สารตั้งต้นอีกตัวที่ทำปฎิกิริยาด้วยจะลดลง สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
-เมื่อเติมสารผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
-เมื่อลดสารในผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของสารตัวนั้นและสารผลิตภัณฑ์จะลดลงแต่สารตั้งต้นอีกตัวที่ทำปฎิกิริยาด้วยจะเพิ่มขึ้น สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
เมื่อลดสารผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะลดลง สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
2.การเปลี่ยนแปลงความดันเนื่องจากการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงปริมาตร
PV=nRT
เมื่ออุณหภูมิคงที่(T)
ความดัน(P)จะแปรผันตรงกับจำนวนโมล(n) และแปรผกผันกับปริมาตร(V)
-เมื่อเพิ่มความดัน(P)สมดุลจะเลื่อนจากโมลมากไปโมลน้อย
-เมื่อลดความดัน(P)สมดุลจะเลื่อนจากโมลน้อยไปโมลมาก
3.การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ค่าคงที่ของสมดุลจะเปลี่ยนไปได้เพราะอุณหภูมิเท่านั้น
เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิค่าคงที่ของสมดุลจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับปฎิกิริยาด้วย
1.ปฎิกิริยาดูดความร้อน
-เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ(T)       >Kมากขึ้น
-เมื่อลดอุณหภูมิ(T)       >Kลดลง
2.ปฎิกิริยาคายความร้อน
-เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ(T)       >Kลดลง
-เมื่อลดอุณหภูมิ(T)       >Kมากขึ้น
การนำหลักของเลอชาเตอลิเยไปใช้ในอุตสาหกรรม
การใช้สารตั้งต้นให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลิตภัณฑ์มากที่สุด
โดยใช้ปัจจัยต่างๆเพื่อให้ปฎิกิริยามีทิศทางไปทางสารผลิตภัณฑ์มากที่สุด

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมดุลเคมี


บทนำ
สมดุลมี2ประเภทคือ
1.สมดุลสถิต
2.สมดุลไดนามิก
สมดุลไดนามิกจะแบ่งเป็นอีก2ประเภทคือ
1.สมดุลกายภาพ
2.สมดุลเคมี
สมดุลเคมี
คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและ
ปฏิกิริยาย้อนกลับเท่ากัน
ภาวะสมดุล
จะเกิดขึ้นเมื่อ
- อยู่ในระบบปิด
- สมบัติของระบบคงที่
- เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ โยมีการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า และย้อนกลับเกิดขึ้นพร้อมกัน
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
- ระบบนั้นจะต้องมีสารตั้งต้นเหลืออยู๋และมีสารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น และสารทุกชนิดในระบบจะต้องมีปริมาณคงที่ เมื่อระบบเข้าสู้ภาวะสมดุลแล้ว
กราฟเคมี
1.
2.


จากรูปที่1และรูปที่2คือกราฟการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อแกนxคือความเข้มข้นของสารและแกนyคือเวลาส่วนรูปที่2ฝั่งขวาสามารถเขียนแกนxเป็นRateการเกิดปฏิกิริยาได้เพราะสาร2ชนิดมีความเข้มข้นเท่ากัน
                   

อ้างอิงจากกฎอัตราการเกิดปฏิกิริยา
 A  +  B   C  +  D 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า (Ratef)  และอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (Rater)  สามารถเขียนได้ดังนี้ 
K f  และ  K r  คือค่าคงที่ของ Rate f   และ Rate r  ตามลำดับที่ภาวะสมดุล  
                                                        Rate f       =        Rate r

                                                           K f [A] [B]   =    K r [C] [D]

                                        K   =     =   

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ ปริมาณสารที่เปลี่ยนไป ต่อหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์ก็ได้
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี=ปริมาณสารที่เปลี่ยนแปลงไปในการเกิดปฏกิริยา/เวลาที่ใช้ไป
ประเภทของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมี 3 ประเภท
1.อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย
2.อัตราการเกิดปฏิกิริยา ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
3.อัตราการเกิดปฏิกิริยา ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา

แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1.ทฤษฎีการชน
   - ต้องชนถูกทิศทาง
   - ต้องมีพลังงานมากพอ
2.ทฤษฎีสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น

พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
1.ปฏิกิริยาดูดความร้อน
2.ปฏิกิริยาคายความร้อน(เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ)

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1.ธรรมชาติของสารตั้งต้น
2.ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
3.ตัวเร่งหรือหน่วงปฏิกิริยา
4.อุณหภูมิ
5.พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น
กฎอัตราเร็วของปฏิกิริยา
 ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
ปฏิกิริยา                         aA +bB   ---------->   cC+dD
                             

                                    Rate  = K[A]m[B]n

K          =          specific rate constant
m,n      =             อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B
m+n     =             อันดับของปฏิกิริยารวม
[A], [B] =             ความเข้มข้นของสาร