วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน
การแตกตัวของกรดพอลิโปรติก หรือ การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน 
กรดพอลิโปรติก หมายถึง กรดที่มีโปรตอนมากกว่า 1 ตัว และสามารถแตกตัวให้ H+ ได้มากกว่า 1 ตัว ถ้าแตกตัวแล้วได้ H+ 2 ตัว จะเรียกว่า กรดไดโปรติก เช่น H2CO3, H2S, H2C2O4 เป็นต้น
ใช้วิธีการคำนวณแบบกรดอ่อน แต่ต้องคิดตามจำนวน H+
เช่น
H2CO3 มี H+จำนวน 2 ตัว ซึ่งจะแตกตัวออก 2 ครั้งโดยแต่ละครั้งจะมี H+ หลุดออกไป 1 ตัว
ทำให้ต้องคิดแบบการแตกตัวแบบกรดอ่อน 2 รอบ
ยกเว้น H2SO4 ที่ครั้งแรกจะเกิดการแตกตัวแบบกรดแก่
อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป
การทดสอบความเป็นกรด - เบสของสารละลายความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลายสามารถทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ 

อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลาย ได้แก่
1. กระดาษลิตมัส

มีสีแดงกับสีน้ำเงิน มีการเกิดขึ้น ดังนี้ 
- สารละลายกรด หรือสารละลายที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีแดง
- สารละลายเบสหรือสารละลายที่มีค่า pH สูงกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน 
- สารละลายเป็นกลางหรือสารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   ทั้งสีแดงและสีน้ำเงิน 
2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน
เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่มีสี เมื่อหยดสารละลายกรด สีของสารละลายจะคงเดิม
เมื่อหยดสารละลายเบส สีของสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง
แต่ถ้าเป็นเบสแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
3. สารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์

เป็นการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆชนิดที่มีการเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่างกันมาผสมกัน
ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงสามารถบอกค่าความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย
ดยบอกค่า pH ที่ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น 
เกลือ
ปฎิกิริยาไฮโดรลิซิส คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากที่เกลือละลายน้ำแล้ว
ซึ่งจะได้ไอออนของเกลือ โดยไอออนของเกลือจะไปทำการแยกสลายน้ำ
เกลือเกิดได้จากปฏิกิริยา 4 ประเภท
คือ
1.กรดแก่+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกลาง
2.กรดแก่+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกรด
3.กรดอ่อน+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือเบส
4.กรดอ่อน+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับค่าคงที่
-Ka = Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกลาง
-Ka > Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกรด
-Ka < Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือเบส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น