กรดอ่อนและเบสอ่อนเป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำไม่หมด
จึงเกิดสมดุลขึ้น
1.
2.
การแตกตัวของน้ำ,ค่าpH,ค่าpOH
การแตกตัวของน้ำ
น้ำเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่อ่อนมาก จึงทำให้แตกตัวได้น้อยมาก ดังนั้นการนำไฟฟ้าของน้ำจะน้อย จนไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการนำไฟฟ้าผ่านหลอดไฟ แต่ตรวจได้ด้วยเครื่องวัดกระแส (แอมมิเตอร์) ด้วยเหตุนี้จึงมีการอนุโลมให้น้ำบริสุทธิ์เป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์
ตามทฤษฎีของเบรินสเตต - ลาวรี กล่าวว่า น้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งกรดและเบส ไอออนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำนั้นจะมีการถ่ายเทโปรตอนกันเอง เรียกว่า ออโตไอออนไนเซชัน
โมเลกุลของน้ำที่เสีย H+ จะเปลี่ยนเป็น OH- ซึ่งมีประจุลบ และโมเลกุลของน้ำที่ได้รับ H+ จะเปลี่ยนเป็น H3O+ ซึ่งมีประจุบวก
เนื่องจากระบบนี้อยู่ในภาวะสมดุล เราจึงสามารถเขียนสมการค่าคงที่สมดุลของ H2O ได้ ดังนี้
ค่า pH
เป็นตัวย่อที่มาจากภาษาละตินของคำว่า pondus hydrogenii (podus = pressure, hydrogenium = hydrogen แต่บางตำราคำว่า p หมายถึง power) ดังนั้นจึงเป็นการวัดการทำงานของโฮโดรเจนอิออนในสสารนั่นเอง ค่า pH ของสารละลายใด ๆ กำหนดได้จากลอกการิทึมลบ (ฐาน 10) ของความเข้มข้นไฮโดรเนียม ไอออน นั่นคือpH = -log[H+] ----1
หากสารละลายมีค่า pH มากกว่า จะมีค่า H3O+ (หรือ H+) ในสารละลายมากกว่านั่น
pH+pOH = 14
ค่า pOH
เป็นการกำหนดความเป็นกรดด่างในรูปของ pOH scale ซึ่งกำหนดได้จากลอกการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์อิออน นั่นคือ
pOH = - log [OH- ] ----2
จาก 1+2 ; pH+pOH = - log [OH- ]+-log[H+]
pH+pOH = - log [OH- ][H+]
pH+pOH = - log Kw
pH+pOH = - log 1.0 x 10 14
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น