วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การแตกและการเกิดพันธะ

  การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับการแตกพันธะ (bond cleavage) ของสารตั้งต้น และการเกิดพันธะใหม่ (bond formation) 
การแตกของพันธะ
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแตกพันธะแบบเสมอภาค (Homolytic cleavage)
  เป็นการแตกพันธะโดยคู่อิเล็กตรอนของพันธะแยกออกจากกันไปอยู่ที่อะตอมข้างละ 1 ตัว เมื่อมีการแตก เรียกแต่ละข้างที่แตกออกไปนี้ว่าแรดิคัล (radical) หรือแรดิคัลอิสระ (free radical) ซึ่งมีสมบัตืเป็นกลาง ไม่มีประจุ



2. การแตกพันธะแบบไม่เสมอภาค (Heterolytic cleavage)
เป็นการแตกพันธะโดยที่คู่อิเล็กตรอนของพันธะนั้นแยกไปอยู่ที่อะตอมใดอะตอมหนึ่ง ในขณะที่
อะตอมอีกข้างหนึ่งจะไม่ได้รับอิเล็กตรอนเลย การแตกพันธะแบบนี้จะทำให้ข้างที่ได้รับอิเล็กตรอนม
ประจุลบ (anion) และข้างที่ขาดอิเล็กตรอนมีประจุบวก (cation) เรียกปฏิกิริยาที่มี
การแตกพันธะแบบไม่เสมอภาคนี้ว่า ปฏิกิริยาแบบไอออนนิค (Ionic reaction)

การเกิดพันธะ
แบ่งออกเป็น ลักษณะ คือ
1. การสร้างพันธะระหว่างอะตอม 2 อะตอมโดยใช้อิเล็กตรอนอะตอมละ 1 อิเล็กตรอนร่วมกัน เกิดเป็นพันธะโควาเลนต์ 1 พันธะ
2. สร้างพันธะโดยอะตอมหนึ่งให้ 2 อิเล็กตรอนกับอีกอะตอมหนึ่งที่มีออร์บิทอลว่าง
เกิด
พันธะโควาเลนต์ 1 พันธะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น