วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แอลเคน (Alkane)

แอลเคน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอิ่มตัวที่คาร์บอนแต่ละอะตอมเกิดพันธะเดี่ยวโคเวเลนต์ โดยที่อะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่ยาว มีสูตรโมเลกุลทั่วไป คือ CnH2n+2 เมื่อ nคือ จำนวนคาร์บอนอะตอม มีค่าเป็น 1, 2, 3.... 
 
การเรียกชื่อสารประกอบแอลเคน 
1. ชื่อสำหรับสารประกอบแอลเคน จะเรียกตามโครงสร้างของแอลเคน
 โดยพิจารณาจากจำนวนอะตอมของคาร์บอนเป็นหลัก 
ตารางแสดงชื่อและโครงสร้างของแอลเคนโซ่ตรง
จำนวนคาร์บอน
โครงสร้าง
ชื่อ
1
   CH4
   มีเทน (Methane)
2
   CH3 CH3
   อีเทน (Ethane)
3
   CH3CH2CH3
   โพรเพน (Propane)
4
   CH3(CH2)2CH3
   บิวเทน (Butane)
5
   CH3(CH2)3CH3
   เพนเทน (Pentane)
6
   CH3(CH2)4CH3
   เฮกเซน (Hexane)
7
   CH3(CH2)5CH3
   เฮปเทน (Heptane)
8
   CH3(CH2)6CH3
   ออกเทน (Octane)
9
   CH3(CH2)7CH3
   โนเนน (Nonane)
10
   CH3(CH2)8CH3
  เดเคน (Decane)
             
2. สำหรับสารประกอบแอลเคนที่มีหมู่แอลคิล (-R) ที่ต่อกับโซ่ตรง ให้เรียกชื่อตามชื่อหลักของแอลเคน แต่เปลี่ยนคำลงท้ายจากเอน (-ane) เป็น อิล (-yl

   ตารางแสดงสูตรโครงสร้างของหมู่แอลคิล
สูตรโครงสร้างของแอลเคน
สูตรโครงสร้างแบบย่อของ
กลุ่มแอลคิลจากแอลเคน
ชื่อ
   CH4
CH3 -
เมทิล (Methyl)
   CH3 – CH3
CH3 – CH2 -
เอทิล (Ethyl)
   CH3 – CH2 – CH3
CH3 – CH2 - CH2 -
นอร์มอลโพรพิล (n-Propyl)

CH3 – CH -
ไอโซโพรพิล (iso-Propyl)

                             CH3

   CH3 – CH2 – CH2-CH3
CH3 – CH2 - CH2 - CH2 -
นอร์มอลบิวทีล (n-Butyl)



   CH3 – CH – CH3
CH3 – CH - CH2 -
ไอโซบิวทิล (iso-Butyl)
              CH3
                        CH3


CH3 – CH2 - CH -
เซกคันดารีบิวทิล

                                  CH3
(sec – Butyl)

                            CH3
เทอเทียรีบิวทิล

CH3 - C -
(t – Butyl)

                            CH3

R - H
R-
แอลคิล (Alkyl)


คุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของสารแอลเคน1. สำหรับแอลเคนที่มีโครงสร้างเป็นโซ่ตรง ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำสุดจะเป็นแก๊ส ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน ใช้ในการปรุงอาหารและในทางอุตสาหกรรม

2.สำหรับแอลเคน ที่มีคาร์บอน 5-17 อะตอม จะเป็นของเหลว ใช้เป็นตัวทำละลายสารอินทรีย์ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์3. สำหรับแอลเคนที่มีอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 18 ขึ้นไปจะเป็นของแข็ง ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น4. แอลเคนที่เป็นของเหลวจะไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในตัวทำละลายพวกสารประกอบนอนโพลาร์ (สารประกอบที่ไม่มีขั้ว) เช่น เบนซิน คาร์บอนเตตระคลอไรด์5. แอลเคนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนต่ำจะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นต่ำ แต่เมื่อจำนวนอะตอมของคาร์บอนของแอลเคนเพิ่มขึ้น จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นจะเพิ่มสูงขึ้น 


การเตรียมสารประกอบอัลเคน (Synthesis of Alkanes)
1. Hydrogenation of Alkenes or Alkynes
2. Hydrogenation of Alkylhalides

ปฏิกิริยาของสารประกอบอัลเคน (Reaction of Alkane)
                        อัลเคนเป็นสารประกอบที่อิ่มตัวมากจึงไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยากับสารอื่น แต่ถ้าเกิดจะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่อย่างเดียวเท่านั้น

1.ปฏิกิริยาการเผาไหม้(Combustion reaction) หรือ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน(Oxidation reaction)แอลเคนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างไม่มี ควันและมีความร้อนเกิดขึ้น

2.ปฏิกิริยาการแทนที่(Substitution reation) หรือปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน(Halogenation reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการที่ไฮโดรเจนอะตอมถูกแทนที่ด้วยธาตุฮาโลเจน โดยมีแสงหรือความร้อนเป็นช่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น