วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การไทเทรต
เป็นกระบวนการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดหรือเบส โดยให้สารละลายกรดหรือเ บสทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายมาตรฐาน เบสหรือกรดซึ่งทราบความเข้มข้นที่แน่นอน และใช้อินดิเคเตอร์เป็นสารที่บอกจุดยุติ ด้วยการสังเ กตจากสีที่เปลี่ยน ขณะไทเทรต pH จะเปลี่ยนไป ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์เหมาะสม จะบอกจุดยุติใกล้เคียงกับจุดสมมูล จุดสมมูล (จุดสะเทิน = Equivalence point)
คือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน จุดสมมูลจะมี pH เป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่นำมาไทเทรตกัน และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดและเบส
จุดยุติ (End point)
คือ จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี ขณะไทเทรตกรด- เบสอยู่
กราฟของการไทเทรต1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่


2. การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่


3.  การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน



*ไม่มีการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนและเบสอ่อนเพราะมีจุดยุติที่สั้นมาก

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์(buffer solution)หมายถึง สารละลายของกรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อน
หรือ สารละลายของกรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อน

สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์
สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อย
การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
-เตรียมสารทางตรง
นำสารทั้งสองมาผสมกันเลย เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
-เตรียมสารทางอ้อม
เมื่อเราไม่มีสารที่เราต้องการจึงต้องนำสารมาทำปฏิกิริยากัน
เช่น ถ้าเรามี CH3COOH
CH3COOH + NaOH  ----------->  CH3COONa + H2O
เมื่อ CH3COOH มากเกินพอ ส่วน NaOH จะหมดไป
ทำให้เหลือ CH3COOH กับ CH3COONa ที่เป็นคู่บัฟเฟอร์กัน
       ถ้าเรามี CH3COONa
CH3COONa + HCl  -----------> CH3COOH + NaCl
เมื่อ CH3COONa มากเกินพอ ส่วน HCl จะหมดไป
ทำให้เหลือ CH3COOH กับ CH3COONa ที่เป็นคู่บัฟเฟอร์กัน
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7
2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน
การแตกตัวของกรดพอลิโปรติก หรือ การแตกตัวของกรดอ่อนหลายโปรตอน 
กรดพอลิโปรติก หมายถึง กรดที่มีโปรตอนมากกว่า 1 ตัว และสามารถแตกตัวให้ H+ ได้มากกว่า 1 ตัว ถ้าแตกตัวแล้วได้ H+ 2 ตัว จะเรียกว่า กรดไดโปรติก เช่น H2CO3, H2S, H2C2O4 เป็นต้น
ใช้วิธีการคำนวณแบบกรดอ่อน แต่ต้องคิดตามจำนวน H+
เช่น
H2CO3 มี H+จำนวน 2 ตัว ซึ่งจะแตกตัวออก 2 ครั้งโดยแต่ละครั้งจะมี H+ หลุดออกไป 1 ตัว
ทำให้ต้องคิดแบบการแตกตัวแบบกรดอ่อน 2 รอบ
ยกเว้น H2SO4 ที่ครั้งแรกจะเกิดการแตกตัวแบบกรดแก่
อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป
การทดสอบความเป็นกรด - เบสของสารละลายความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลายสามารถทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ 

อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลาย ได้แก่
1. กระดาษลิตมัส

มีสีแดงกับสีน้ำเงิน มีการเกิดขึ้น ดังนี้ 
- สารละลายกรด หรือสารละลายที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีแดง
- สารละลายเบสหรือสารละลายที่มีค่า pH สูงกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   จากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน 
- สารละลายเป็นกลางหรือสารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
   ทั้งสีแดงและสีน้ำเงิน 
2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน
เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่มีสี เมื่อหยดสารละลายกรด สีของสารละลายจะคงเดิม
เมื่อหยดสารละลายเบส สีของสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง
แต่ถ้าเป็นเบสแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
3. สารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์

เป็นการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆชนิดที่มีการเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่างกันมาผสมกัน
ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงสามารถบอกค่าความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย
ดยบอกค่า pH ที่ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น 
เกลือ
ปฎิกิริยาไฮโดรลิซิส คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากที่เกลือละลายน้ำแล้ว
ซึ่งจะได้ไอออนของเกลือ โดยไอออนของเกลือจะไปทำการแยกสลายน้ำ
เกลือเกิดได้จากปฏิกิริยา 4 ประเภท
คือ
1.กรดแก่+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกลาง
2.กรดแก่+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือกรด
3.กรดอ่อน+เบสแก่
เกลือที่เกิดขึ้นจะเป็นเกลือเบส
4.กรดอ่อน+เบสอ่อน
เกลือที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับค่าคงที่
-Ka = Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกลาง
-Ka > Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือกรด
-Ka < Kb เกลือที่ได้จะเป็นเกลือเบส

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดอ่อนเบสอ่อน
กรดอ่อนและเบสอ่อนเป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำไม่หมด
จึงเกิดสมดุลขึ้น
1.

2.


การแตกตัวของน้ำ,ค่าpH,ค่าpOH
การแตกตัวของน้ำ 
          น้ำเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่อ่อนมาก จึงทำให้แตกตัวได้น้อยมาก ดังนั้นการนำไฟฟ้าของน้ำจะน้อย จนไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการนำไฟฟ้าผ่านหลอดไฟ แต่ตรวจได้ด้วยเครื่องวัดกระแส (แอมมิเตอร์) ด้วยเหตุนี้จึงมีการอนุโลมให้น้ำบริสุทธิ์เป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์
          ตามทฤษฎีของเบรินสเตต - ลาวรี กล่าวว่า น้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งกรดและเบส ไอออนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำนั้นจะมีการถ่ายเทโปรตอนกันเอง เรียกว่า ออโตไอออนไนเซชัน

โมเลกุลของน้ำที่เสีย H+ จะเปลี่ยนเป็น OH- ซึ่งมีประจุลบ และโมเลกุลของน้ำที่ได้รับ H+ จะเปลี่ยนเป็น H3O+ ซึ่งมีประจุบวก
เนื่องจากระบบนี้อยู่ในภาวะสมดุล เราจึงสามารถเขียนสมการค่าคงที่สมดุลของ H2O ได้ ดังนี้


ค่า pH
เป็นตัวย่อที่มาจากภาษาละตินของคำว่า pondus hydrogenii (podus = pressure, hydrogenium = hydrogen แต่บางตำราคำว่า p หมายถึง power) ดังนั้นจึงเป็นการวัดการทำงานของโฮโดรเจนอิออนในสสารนั่นเอง ค่า pH ของสารละลายใด ๆ กำหนดได้จากลอกการิทึมลบ (ฐาน 10) ของความเข้มข้นไฮโดรเนียม ไอออน นั่นคือ
pH = -log[H+]   ----1
หากสารละลายมีค่า pH มากกว่า จะมีค่า H3O+ (หรือ H+) ในสารละลายมากกว่านั่น

                     pH+pOH = 14

ค่า pOH
เป็นการกำหนดความเป็นกรดด่างในรูปของ pOH scale ซึ่งกำหนดได้จากลอกการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์อิออน นั่นคือ
                                                             pOH = - log [OH-]   ----2

จาก 1+2 ;      pH+pOH = - log [OH-]+-log[H+]  
                      pH+pOH = - log [OH-][H+]
                      pH+pOH = - log Kw
                      pH+pOH = - log 1.0 x 10 14

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแตกตัวของกรดแก่เบสแก่
กรดแก่และเบสแก่เป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำจนหมด
จึงใช้วิธีคิดแบบปริมาณสารสัมพันธ์ได้เลย
ซึ่งกรดแก่-เบสแก่มีดังนี้