วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ. 2554

หลักของเลอชาเตอลิเย
ปัจจัยที่รบกวนสภาวะวมดุลมี3อย่างคือ
1.การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์
-เมื่อเติมสารในผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของสารตัวนั้นและสารผลิตภัณฑ์จะมากขึ้นแต่สารตั้งต้นอีกตัวที่ทำปฎิกิริยาด้วยจะลดลง สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
-เมื่อเติมสารผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
-เมื่อลดสารในผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของสารตัวนั้นและสารผลิตภัณฑ์จะลดลงแต่สารตั้งต้นอีกตัวที่ทำปฎิกิริยาด้วยจะเพิ่มขึ้น สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
เมื่อลดสารผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะลดลง สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
2.การเปลี่ยนแปลงความดันเนื่องจากการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงปริมาตร
PV=nRT
เมื่ออุณหภูมิคงที่(T)
ความดัน(P)จะแปรผันตรงกับจำนวนโมล(n) และแปรผกผันกับปริมาตร(V)
-เมื่อเพิ่มความดัน(P)สมดุลจะเลื่อนจากโมลมากไปโมลน้อย
-เมื่อลดความดัน(P)สมดุลจะเลื่อนจากโมลน้อยไปโมลมาก
3.การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ค่าคงที่ของสมดุลจะเปลี่ยนไปได้เพราะอุณหภูมิเท่านั้น
เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิค่าคงที่ของสมดุลจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับปฎิกิริยาด้วย
1.ปฎิกิริยาดูดความร้อน
-เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ(T)       >Kมากขึ้น
-เมื่อลดอุณหภูมิ(T)       >Kลดลง
2.ปฎิกิริยาคายความร้อน
-เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ(T)       >Kลดลง
-เมื่อลดอุณหภูมิ(T)       >Kมากขึ้น
การนำหลักของเลอชาเตอลิเยไปใช้ในอุตสาหกรรม
การใช้สารตั้งต้นให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลิตภัณฑ์มากที่สุด
โดยใช้ปัจจัยต่างๆเพื่อให้ปฎิกิริยามีทิศทางไปทางสารผลิตภัณฑ์มากที่สุด

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมดุลเคมี


บทนำ
สมดุลมี2ประเภทคือ
1.สมดุลสถิต
2.สมดุลไดนามิก
สมดุลไดนามิกจะแบ่งเป็นอีก2ประเภทคือ
1.สมดุลกายภาพ
2.สมดุลเคมี
สมดุลเคมี
คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและ
ปฏิกิริยาย้อนกลับเท่ากัน
ภาวะสมดุล
จะเกิดขึ้นเมื่อ
- อยู่ในระบบปิด
- สมบัติของระบบคงที่
- เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ โยมีการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า และย้อนกลับเกิดขึ้นพร้อมกัน
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
- ระบบนั้นจะต้องมีสารตั้งต้นเหลืออยู๋และมีสารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น และสารทุกชนิดในระบบจะต้องมีปริมาณคงที่ เมื่อระบบเข้าสู้ภาวะสมดุลแล้ว
กราฟเคมี
1.
2.


จากรูปที่1และรูปที่2คือกราฟการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อแกนxคือความเข้มข้นของสารและแกนyคือเวลาส่วนรูปที่2ฝั่งขวาสามารถเขียนแกนxเป็นRateการเกิดปฏิกิริยาได้เพราะสาร2ชนิดมีความเข้มข้นเท่ากัน
                   

อ้างอิงจากกฎอัตราการเกิดปฏิกิริยา
 A  +  B   C  +  D 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า (Ratef)  และอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (Rater)  สามารถเขียนได้ดังนี้ 
K f  และ  K r  คือค่าคงที่ของ Rate f   และ Rate r  ตามลำดับที่ภาวะสมดุล  
                                                        Rate f       =        Rate r

                                                           K f [A] [B]   =    K r [C] [D]

                                        K   =     =