วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ ปริมาณสารที่เปลี่ยนไป ต่อหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์ก็ได้
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี=ปริมาณสารที่เปลี่ยนแปลงไปในการเกิดปฏกิริยา/เวลาที่ใช้ไป
ประเภทของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมี 3 ประเภท
1.อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย
2.อัตราการเกิดปฏิกิริยา ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
3.อัตราการเกิดปฏิกิริยา ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา

แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1.ทฤษฎีการชน
   - ต้องชนถูกทิศทาง
   - ต้องมีพลังงานมากพอ
2.ทฤษฎีสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น

พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
1.ปฏิกิริยาดูดความร้อน
2.ปฏิกิริยาคายความร้อน(เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ)

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1.ธรรมชาติของสารตั้งต้น
2.ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
3.ตัวเร่งหรือหน่วงปฏิกิริยา
4.อุณหภูมิ
5.พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น
กฎอัตราเร็วของปฏิกิริยา
 ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
ปฏิกิริยา                         aA +bB   ---------->   cC+dD
                             

                                    Rate  = K[A]m[B]n

K          =          specific rate constant
m,n      =             อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B
m+n     =             อันดับของปฏิกิริยารวม
[A], [B] =             ความเข้มข้นของสาร